ธุรกิจแบบอะมีบา ของคาซูโอะ อินาโมริ

 คาซูโอะ  อินาโมริ กับ ธุรกิจแบบอะมีบา



ใครคือ คาซูโอะ อินาโมริ ?


คาซูโอะ อินาโมริ เป็นชายธรรมดาคนหนึ่งผู้พยายามทำมาหากินเลี้ยงบริษัท ในวัย 27 เขาก่อตั้งบริษัทเคียวเซรา (Kyocera) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเซรามิก ในช่วงแรกมีพนักงาน 28 คน


เขาเน้นคุณภาพของสินค้าอย่างยิ่ง ต่อให้สินค้าใช้งานได้ดี แต่ถ้าสีไม่สวย เขาก็จะโละมันทิ้งทันที ให้วิศวกรปรับปรุงใหม่จนใช้งานได้ดีและสีสวยดั่งใจด้วย เขาต้องการสินค้าสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เขาให้เหตุผลว่า ถ้างานดี 99 เปอร์เซ็นต์ มันก็ยังล้มเหลวเพราะ 1 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น


ด้วยคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐาน เคียวเซราเติบโตขยายตัวไปเรื่อยๆ จนเป็นบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง


ปรัชญาการทำงานของ คาซูโอะ อินาโมริ

ถือหลัก 12 ข้อในการทำงานดังนี้


1 . ตั้งเป้าสูง แต่ซื่อสัตย์ ยุติธรรม

2 . ตั้งเป้าให้ชัดเจน และแชร์กับพนักงานทุกคน

3 . จงมีไฟในการทำงาน

4 . ทำงานหนัก ขยัน ทำไปทีละขั้น

5 . หารายได้มากที่สุด รายจ่ายต่ำที่สุด แต่ไม่มุ่งที่กำไร ให้กำไรเป็นสิ่งที่

      ตามมาจากการทำงานหนักของเรา

6.  ตั้งราคาที่ลูกค้าพึงใจ และบริษัทได้กำไร

7 . ความสำเร็จมาจากกำลังใจ การจัดการธุรกิจต้องเดินไปไกลกว่าเดิมนิด

8 . สู้ไม่ถอย

9 . รับการท้าทายด้วยความกล้า ยุติธรรม ไม่โกงใคร

10 . มีความคิดสร้างสรรค์ในงานเสมอ ปรับปรุงตัวเองและงานให้ดีขึ้น   

      เรื่อยๆ

11 . ทำธุรกิจโดยวงบนความเป็นหุ้นส่วน

12 . มองโลกบวกเสมอ เดินตามฝัน


25 ปีต่อมา อินาโมริร่วมก่อตั้งบริษัท DDI ทำงานด้านโทรคมนาคม เช่นกัน มันกลายเป็นบริษัทชั้นนำในวงการนี้ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KDDI


จุดหนึ่งที่เขาแตกต่างจากผู้บริหารอื่นๆ คือวิธีคิด เขาไม่ได้ตั้งเป้าที่กำไรสูงสุดซึ่งเป็นหัวใจของทุนนิยม ตรงกันข้าม เขากลับพยายามสอดแทรกสังคมนิยมเข้าไป


ภาพจาก Asahi Shimbun


อะไรนะ? ทุนนิยมแบบสังคมนิยม? ทำไม? ทำยังไง?


คือ สร้างความสุขให้คนทำงาน ทั้งทางวัตถุและจิตใจ เชื่อมใจพนักงานเสมอ เขาพบว่าจิตวิญญาณมนุษย์สำคัญที่สุด


อินาโมริเห็นว่าคนที่ทำงานในองค์กรเดิมตลอดชีวิตอาจเกิดความเฉื่อยได้ เพราะคิดว่าทำงานรับใช้เจ้านายก็พอแล้ว


ในมุมมองของอินาโมริ ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ชัดเจนและเข้มแข็ง 

เขาบอกว่าคุณต้องมีทิศทางที่จะไป จุดหมายต้องชัดเจน ถ้าปราศจากจุดหมาย ทุกอย่างก็ไม่เกิดอะไร


เขาบอกว่าวิสัยทัศน์ (vision) ต้องรวมบุคลิกภาพ ความซื่อสัตย์ ความสง่า ความดึงดูดใจ และเสน่ห์เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ร่วมงานยอมเดินตาม เขาเห็นว่าทักษะและเทคนิคเป็นคุณสมบัติทั่วไปของผู้บริหารในองค์กรตะวันตก แต่มันไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด


คนเราควรคุมอีโก้ของตัวเอง ไม่ให้มันโต เราควรแคร์คนอื่น 

นี่ก็คือหลักการทำงานของเขา


อินาโมริเองสำรวจตัวเองเป็นระยะว่าอีโก้ของเขาโตเกินไปหรือไม่ มันเป็นการมองภาพตัวเองทุกวัน ปรับแต่งให้มันเข้าที่เข้าทาง ถอยห่างออกมาสักนิดเพื่อมองตัวเอง


แม้จะเคยบวชเป็นพระเซน แต่เขาก็คิดอย่างคนธรรมดา 

กลับไปที่คำถามที่ทั้งพระและฆราวาสก็ถามได้ คือ 

อะไรเป็นสิ่งที่ถูกที่ควรที่เราทำได้ ในฐานะคนที่เดินบนโลกใบนี้

 เขาเห็นว่าความเป็นมนุษย์เป็นรากฐานของชีวิตของเขา


เขาเรียนรู้จากหลักธรรมว่า คนเราต้องรู้จักพอและรู้จักให้


เมื่ออายุ 84 ปี อินาโมริให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เยอรมนีฉบับหนึ่ง เขาบอกว่าทุนนิยมสมัยใหม่โฟกัสที่จุดหมายด้านอีโก้เกินไป


"ผมบอกลูกน้องผมเสมอว่า พวกเขาควรรักงานที่ทำ ไม่ว่าจะได้รับงานอะไร ความแตกต่างระหว่างงานที่ถูกบังคับให้ทำกับงานที่รักนั้นมหาศาล"


ตั้งแต่นั้นมา หลักปรัชญาของอินาโมริ คือ สร้างความสุขให้คนทำงาน

 ทั้งทางวัตถุและจิตใจ เชื่อมใจพนักงานเสมอ 

เขาพบว่าจิตวิญญาณมนุษย์สำคัญที่สุด


ระบบทุนนิยมแบบสังคมนิยมที่ อินาโมริยึดเป็นหลักในการบริหารงาน


ทุนนิยมสมัยใหม่โฟกัสที่จุดหมายด้านอีโก้เกินไป

ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งพยายามคิดทุกทางเพื่อจ่ายภาษีให้น้อยที่สุด เขารู้สึกว่ามันประหลาดมากที่บริษัทโดยเฉพาะบริษัทตะวันตก ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อจ่ายภาษีน้อยลง เค้นสมองหาช่องโหว่ที่จะทำอย่างนั้น


อินาโมริ เขาคิดตรงกันข้ามว่า เราควรทำให้ธุรกิจเป็นเรื่องที่ดี เพื่อสังคมเขาต้องการทำให้ทุนนิยมเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้


แล้วอิทธิพลทางสังคมนิยมนี้มาจากไหน?


เขาเรียนรู้จากหลักธรรมของศาสนาพุทธว่า คนเราต้องรู้จักพอและรู้จักให้


อะไรก็ตามที่ทำเพื่อคนหมู่มาก ก็คือสังคมนิยม ดังนั้นสังคมนิยมก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือสู่ทุนนิยมได้ โดยที่ win-win ทั้งคู่ มีกำไร แต่ก็มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่มีการเอาเปรียบกัน หรือมองทุกอย่างเป็นระบบกำไรสูงสุด

ทุนนิยมแบบนี้ยั่งยืนกว่า


คาซูโอะ  อินาโมริ  พลิกชีวิตเป็นที่รู้จักในแวดวงธุรกิจคือ 

การกอบกู้สถานการณ์ของ JAL สายการบินแห่งชาติของญี่ปุ่น

ที่กำลังล้มละลาย ให้รอดพ้นจากวิกฤติได้


เมื่อเข้ารับงานที่ JAL เขาเปลี่ยนโครงสร้างสายการบิน ไม่บริหารแบบทางดิ่ง แบ่งออกเป็นอะมีบาย่อยๆ แต่ละหน่วยมีอิสระพอที่จะจัดการ


สายการบินหั่นตำแหน่งออกราวหนึ่งในสาม ลดเงินเดือนราว 

30 เปอรเซ็นต์ ลดเส้นทางบินที่ไม่ทำกำไร


สามปีต่อมา JAL มีกำไรด้วยหลักทำธุรกิจแบบอะมีบาของอินาโมริ


หลักทำธุรกิจแบบอะมีบา


อะมีบาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีโครงสร้างสำหรับใช้เคลื่อนที่โดยเฉพาะ มันเคลื่อนตัวด้วยเท้าเทียม ที่เรียกว่า amoeboid movement


ดังนั้น หัวใจการทำธุรกิจของโมเดลอะมีบาก็คือ  การบริหารจัดการที่ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม ทำโดยแบ่งกลุ่มพนักงานออกย่อยๆ เหมือนอะมีบา อะมีบาแต่ละตัวหรือแต่ละหน่วยเป็นอิสระในระดับหนึ่ง คิดเสมือนเป็นองค์กรเอกเทศ หัวหน้ากลุ่มอะบีมากลุ่มหนึ่งๆ ต้องตัดสินใจเหมือนเป็นเจ้านายเอง


สิ่งหนึ่งที่ทำให้พนักงานมีความสุขกับงานก็คือให้พนักงานมีส่วนร่วมกับงานมากกว่าแค่รับคำสั่ง และทำตาม job description อย่างเถรตรง


อะมีบาแต่ละตัวก็คือศูนย์กำไร (profit center) เล็กๆ ย่อยๆ


ดังนั้น หลักทำธุรกิจแบบอะมีบาจึง win-win สำหรับพนักงานและบริษัท


การทำธุรกิจสำคัญที่สุดคือ ใจของพนักงาน กับเป้าหมายที่ชัดเจน

ของผู้นำองค์กรและพนักงาน 


Tag. ….

#ธุรกิจแบบอะมีบา

#คาซูโอะ  อินาโมริ

#แอ๋วสาระดี



ความคิดเห็น