5 อาการของเซโรโทนินต่ำ

 5 อาการของเซโรโทนินต่ำ 


ใครนอนไม่ค่อยหลับ ตื่นเช้ามารู้สึกไม่สดชื่น เหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม  บ้างคะ


หากคุณอยากนอนให้ดีขึ้น ลองมาทำความเข้าใจและทำความรู้จักกับเซโรโทนิน


สารแห่งความสุขชนิดนี้เอาไว้  จะได้รู้ว่าเซโรโทนิน คืออะไร 


และ ถ้าเราขาดสารชนิดนี้ขึ้นมา เราต้องทำยังไง ?





เซโรโทนินคืออะไร ?


เซโรโทนิน คือสารชีวเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น มีคุณสมบัติเป็นทั้งสารสื่อประสาทและเป็น


ฮอร์โมน สารเคมีตัวนี้เกือบทั้งหมดในร่างกาย หรือประมาณ 80 -90 % พบในทางเดินอาหาร




สำคัญต่อเราอย่างไร ?


เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่ร่างกายสร้างขึ้น และทำหน้าที่สำคัญที่ช่วยถ่ายทอดสัญญาณ


จากสมอง ในบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เชื่อว่าเซลล์สมอง 40 ล้านเซลล์นั้น ถูกควบคุมทั้ง


โดยตรงและโดยอ้อมจากเซโรโทนิน ได้แก่ เซลล์สมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความรู้สึก 


 ความปรารถนาทางเพศ  ความีรู้สึกหิว   ความรู้สึกง่วง ความทรงจำกับการเรียนรู้ การควบคุม


อุณหภูมิ และพฤติกรรมทางสังคมบางอย่าง  



ดังนั้นอาจเรียกสารเซโรโทนินนี้ว่าเป็น สารแห่งความสุข สารแห่งแห่งอารมณ์ ความรู้สึก และ


สุขภาพ  ที่ช่วยให้เราเบิกบาน  ผ่อนคลาย และ มีความมั่นใจในตัวเอง  



นักวิจัยพบว่า ระดับเซโรโทนินต่ำ จะนำไปสู่โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ  โรคหวาดวิตก  


อาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง และอารมณ์โกรธเกินควร




ลดเสี่ยง “ ซึมเศร้า”  ด้วยอาหารเพิ่ม เซโรโทนิน


สารทริปโตเฟส (Tryptophan) เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นในการผลิตสารเซโรโทนิน


ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารที่มีโปรตีนหลายชนิด เหล่านี้


  • ไข่

  • แซลมอน

  • ถั่วและธัญพืช

  • ไก่งวงและสัตว์ปีกต่าง ๆ

  • เต้าหู้และถั่วเหลือง

  • ผลิตภัณฑ์จากนมและชีส

  • สับปะรด


เซโรโทนินช่วยปรับสภาพอารมณ์ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิต


ฮอร์โมนเมลาโทนิน   เมลาโทนินหรือที่เรียกว่า  ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ  จะถูกปล่อยออกมา


จากสมองส่วนควบคุมจังหวะร่างกาย ให้พร้อมเข้าสู่วงจรการนอนหลับ



เรามาดูว่า อาการนำของภาวะเซโรโทนินต่ำ ที่แสดงอาการใหญ่ ๆ มีดังนี้

5   อาการของเซโรโทนินต่ำ


อาการที่ 1 : อารมณ์ต่ำ  เหงา เศร้า โดยไม่ทราบสาเหตุ


อาการที่ 2 : รู้สึกหงุดหงิด ไม่สบายเนื้อสบายตัว 


อาการที่ 3 : ปัญหาการย่อยอาหาร ท้องอืด หรือลำไส้แปรปรวน


อาการที่ 4 : นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท


อาการที่ 5 : วิตกกังวล 



     สรุปเซโรโทนินต่ำก่อให้เกิดภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง มากที่สุด


 ผู้เขียนจึงชวนมาปรับสมดุลเซโรโทนินของคุณก้วยกิจกรรม การสร้างเซโรโทนินต่อไปนี้


ใกล้ชิดธรรมชาติ

• รับแสงแดด

• การฝึกสติ

• การกินอาหารเพิ่มเซโรโทนิน

• น้ำดื่มและชาสมุนไพร

• ยืดร่างกาย

• ร้องเพลง

• งีบหลับ


 

คุณทำอย่างไร  เพื่อสร้าง เซโรโทนินของคุณ ?


คอมเมนท์เลยคะ



ผู้เขียน 


พี่แอ๋วสาระดี ผู้หญิงที่ชอบส่งมอบสาระดี ๆ ให้ทุกคน


อ้างอิง 


รู้จักเซโรโทนิน


กรมสุขภาพจิต รู้จักเซโรโทนิน




ความคิดเห็น