โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Artery Disease : CAD หรือ Coronary Heart Disease: CHD)
โรคหลอดเลือดหัวใจ
เกิดจากการเกาะของคราบไขมัน (Plaque) mภายในผนังหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตัน จนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด
เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบจะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานได้อย่างปกติ ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดซึ่งจะมีอาการเจ็บหน้าอกผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บหน้าอกหายใจติดขัดหรือรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายหากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้
สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจมีสาเหตุจากการรวมตัวกันของไขมันที่ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจโดยก้อนไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอลและของเสียอื่นๆและมีชื่อว่า อเธอโรมา ( Atheroma )
การเกาะตัวกันของก้อนไขมันทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวหรือกระบวนการที่เรียกกันว่าอะเทอโรสเคลอโรซิส ( Atherosclerosis ) รวมถึงการขัดขวางการเดินของเลือดร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ได้แก่
คอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวในอาหารที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ในร่างกายแต่ถ้าไขมันในกระแสเลือดที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ คอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็นหลายประเภทแต่มีสองประเภทที่สำคัญคือ
🩸LDL หรือ “ไขมันร้าย” คือตัวการปิดกั้นหลอดเลือดหัวใจซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในการ
เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ
🩸HDL หรือ “ไขมันดี” ทำหน้าที่นำไขมันร้ายออกจากเซลล์ต่างๆและลดความเสี่ยงใน
การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคความดันโลหิตสูงความดันโลหิตสูงส่งผลให้หัวใจทำงานหนักจนเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวซึ่งอาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ
การสูบบุหรี่หมายความถึงผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นหรือผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง ผู้ที่บริโภคยาสูบแบบไม่มีควัน เช่น ยาฉุน ยาเส้น รวมถึงผู้ที่เคยสูบบุหรี่ติดต่อกันมาเป็นเวลานานและเพิ่งหยุดสูบได้ไม่นาน พบว่าผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2.4 เท่า
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวานระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังส่งผลให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ทำให้เซลล์เยื่อบุภายในหลอดเลือดทำงานผิดปกติ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งซึ่งทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายเสื่อมสภาพ ถูกทำลายและก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมาได้
ความเครียดปัจจัยทางด้านความเครียดที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดคือสภาพจิตใจที่โศกเศร้า มีความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานานติดต่อกันแล้ว ยังไม่สามารถจัดการกับสาเหตุของความเครียดนั้นได้เพราะว่าเก็บกดด้านอารมณ์
ความสำคัญของโรค
โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศและทั่วโลกโดยมีอุบัติการสูงขึ้นในประชากรอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปทั้งหญิงและชาย
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
มีอาการแน่นหน้าอก แน่นแบบตื้อ ๆ ลักษณะเหมือนมีของหนักมากดทับ รัด จุกเสียดแน่น อึดอัด แสบบริเวณกลางอก - หน้าอกซ้าย ลิ้นปี่ มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ซ้าย แขนซ้ายด้านในร้าวไปที่กราม 2 ข้าง มักเกิดขณะออกแรง เช่น ทำงาน ออกกำลังกายหรือรับประทานหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
มีความรุนแรงมาก จนทนแทบไม่ได้
เป็นขณะพักและนานมากกว่า 15 - 20 นาที
เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
อาการร่วมอื่นๆเช่นเหนื่อย,คลื่นไส้ , อาเจียน,เหงื่อออก, หวิว ๆ จะเป็นลมผู้ป่วยประมาณ 20 ถึง 40% ไม่มีอาการเจ็บหน้าอกนำมาก่อน
ผู้ป่วยบางรายมาด้วยการเป็นลมหมดสติ, ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ จนหัวใจหยุดเต้นได้
บางรายมีอาการคล้ายกับโรคกระเพาะอาหารหรือกรดไหลย้อน
ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูง
การสูบบุหรี่พบมากในคนอายุน้อย
ภาวะอ้วนลงพุง
เพศชายอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
เพศหญิงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปหรือหลังหมดประจำเดือน
บริโภคผักและผลไม้น้อย
ขาดการออกกำลังกาย
ภาวะเครียด
การประเมินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจทำได้โดยวิธี
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
ตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินบนลู่วิ่งหรือสายพานหรือเป็นการตรวจคลื่นหัวใจขณะออกกำลังกาย Exercise Stress Test หรือ EST
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจด้วยความถี่สูง ( ECHO )
ตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( Coronary CT Angiography )
ตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยการฉีดสีผ่านสายสวน
การตรวจคลื่นแม่เหล็กหัวใจ ( Cardiac MRI )
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
หากหลอดเลือดตีบตันเพียงบางส่วนรักษาด้วยยา ให้ยาเพื่อรักษาอาการควบคุมปัจจัยเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค
หากหลอดเลือดตันมากด้วยการทำบอลลูนหัวใจ ( PCI ; Percutaneous Coronary Intervention ) โดยวิธีการขยายเส้นเลือดที่ตีบและอุดตันพร้อมทั้งใส่ขดลวดค้ำยัน
หากไม่สามารถทำบอลลูนหัวใจได้แล้วสาด้วยการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจหรือการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดหัวใจ (CABG)
การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจคือระดับคอเลสเตอรอล การสูบบุหรี่ เบาหวาน และความดันโลหิต การมีสุขภาพที่ดีจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจ ซึ่งทำได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้
🛑 ออกกำลังกาย ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย มักมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะหัวใจวายได้มากถึงสองเท่า ออกกำลังกายเป็นเวลา 30 - 60 นาทีใน 4 - 5 วันต่อสัปดาห์
🛑 รับประทานอาหารประเภทไขมันต่ำและกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ถั่วและธัญพืช มีคอลเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวและโซเดียมในระดับต่ำ ซึ่งช่วยควบคุมน้ำหนัก ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลได้
🛑 ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น อาหารแปรรูปประเภทไส้กรอก หรือ ลูกชิ้น ,เนยชีส,เค้กและอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์ม
🛑 ควรลดและจำกัดปริมาณเกลือไม่เกิน 6 กรัมหรือประมาณหนึ่งช้อนชาต่อวันเพื่อลดอัตราการเกิดความดันโลหิตสูง
🛑 งดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่คือปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ สารนิโคตินในบุหรี่ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้นนอกจากนี้ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ยังทำหน้าที่ลดปริมาณออกซิเจนในเลือดและทำลายผนังเลือดอีกด้วย
🛑 งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากไม่สามารถงดเว้นได้ ไม่ควรดื่มอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจวายได้
🛑 ควบคุมความเครียด ควรฝึกวิธีการควบคุมความเครียด เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการหายใจ เป็นต้น
🛑 ตรวจสุขภาพควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจที่อาจเกิดขึ้น
🛑 ควบคุมความดันโลหิตควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการควบคุมความดันโลหิตที่เหมาะสมกับอายุและอาการของตนเอง
🛑 ควบคุมโรคเบาหวาน โรคเบาหวานถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับ 130 / 80 mmHg
ขอบคุณ : ข้อมูลเอกสารทางวิชาการ สถาบันโรคทรวงอกและ รพ.เปาโล
เรียบเรียงโดย : แอ๋วสาระดี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น